เมืองเสน่ห์กาหลง มหาเสน่ห์ มหาเมตตา มหานิยม
Khalong Amulet
1555
0
ซ่อนแถบด้านข้าง

มุ้งมิ้ง 300.-++ พระคันธราช อ.หม่อม

[คัดลอกลิงก์]
cho โพสต์เมื่อ 29-9-2014 16:33 | แสดงโพสต์ทั้งหมด |โหมดอ่าน
พระคันธราช อ.หม่อม
ชัยชนะ ศักดิ์สิทธิ์คู่ตัวคุณ
300.-++


รายละเอียดพระคันธราช อ.หม่อม
พระคันธราช พระผงรูปใบโพธิ์หลังพระเจ้า 5 พระองค์ จากสุดยอดพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ. วัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยา โดยเจ้าพิธีท่านอาจารย์หม่อม พุทธิโพธิสัตว์ นิรนามไตรภูมิ และพระเกจิทั่วสารทิศ โดยเฉพาะเกจิแถบอยุธยา เชื่อกันว่าพระคันธราช ประดิษฐานคู่กับพระพุทธนิมิตร พิชิตมารที่วัดพระเมรุนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก ตามประวัติวัดพระเมรุนั้นเป็นเพียงวัดเดียวในอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย หรือเสียหายน้อยมาก จึงเป็นสัญญลักษณ์แห่งชัยชนะ ความสำเร็จ ความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมือง คู่ประเทศไทยตลอดกาล

ประวัติพระคันธราช
พระวิหารสรรเพชญ์ (ประชาชนเรียกชื่อว่าพระวิหารคันธารราฐ)
เป็นที่ประทับของพระพุทธรูปพระนามว่า “คันธารราฐ” และเรียกชื่อว่า “วิหารเขียน” เพราะมีลายเขียนในพระวิหารและมีชื่อเรียกกันอีกว่า “วิหารน้อย” เพราะมีขนาดน้อยด้วย ยาวประมาณ ๑๖ เมตร กว้างประมาณ ๖ เมตร มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถประมาณ ๒ เมตรเศษ พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษากรุงในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างในปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ผู้สร้างได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลา (ศิลาเขียว) ประทับนั่งห้อยพระบาท พระนามว่า “พระคันธารราฐ” ย้ายมาจากวัดมหาธาตุ ในเกาะเมือง ข้างวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดร้างในยุคนั้นมาประดิษฐานในวิหารน้อยที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ผู้สร้างได้จารึกไว้ในศิลาติดตั้งไว้ที่ฝาผนังเมื่อ พ.ศ. ที่สร้างว่า “พระคันธารราฐ” นี้ พระอุบาลีซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมาราม นำมาจากประเทศลังกา ในคราวที่ท่านเป็นสมณฑูต พร้อมด้วยพระสงฆ์สยามวงศ์ นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในประเทศลังกา นักโบราณคดีมีความเห็นว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สร้างระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๐ – ๑๒๐๐ และสันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำมาไว้ที่วัดมหาธาตุ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมอยู่ที่วัดพระเมรุราชิการาม จังหวัดนครปฐม เนื่องจากทางราชการขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด สันนิษฐานว่าเป็นเรือนแก้ว ของพระพุทธรูปองค์นี้

พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่อยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้

คันธราช1.jpg คันธราช2.jpg
คันธราช3.jpg
NEW PAYMENT.jpg
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับโพสต์นี้ได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครเป็นชาวเมืองเสน่ห์กาหลง

รายละเอียดเครดิต

ปิด

เว็บมาสเตอร์แนะนำย้อนกลับ /1 ถัดไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Archiver|Mobile|เมืองเสน่ห์กาหลง (Khalong Charming Town)

GMT+7, 20-4-2024 08:59 , Processed in 0.197370 second(s), 9 queries , File On.

Powered by Discuz! X3.4

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้