HADES โพสต์เมื่อ 22-7-2011 15:25

ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ

คัดลอกมาจากหนังสือ"กฎแห่งกรรม"

โดย พระธรรมวิสุทธิกวี(พิจิตรฐิตวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ถึงปัจจุบัน



ปัตติทานมัย   บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ

               พุทธศาสนิกชน   เมื่อทำบุญอันใดแล้วก็มักจะอุทิศส่วนบุญนั้นแก่ท่านผู้มีพระคุณ
หรือแก่คนอื่นสัตว์อื่นเป็นอันมาก   เพราะทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้นเป็นการแสดงออกถึงการ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่   ไม่ขี้เหนียว มีใจกว้างหวังประโยชน์สุขต่อคนอื่นสัตว์อื่น   เมื่อตนได้รับบุญแล้ว
ก็หวังจะให้คนอื่นสัตว์อื่นได้รับบุญนั้นด้วย   เหมือนคนมีความรู้แล้วก็ถ่ายทอดให้แก่คนอื่นด้วย
หวังให้เขาได้มีความรู้ความสามารถด้วย

               บางคนทำบุญ เช่น ให้ทานรักษาศีลหรือเจริญภาวนาแล้วก็ไม่ยอมอุทิศบุญที่ได้
รับนั้นให้แก่ผู้ใด   ก็ได้บุญแต่ผู้เดียวและได้บุญเฉพาะในเรื่องของทาน ศีลหรือภาวนาที่ตนได้
ทำเท่านั้นแต่ไม่ได้บุญข้อปัตติทานมัย   แต่ถ้าหากว่าผู้นั้นอุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้อื่นด้วยเขาก็
จะได้บุญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัตติทานมัย   บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ

                  การให้ส่วนบุญนั้นสามารถให้ได้ทั้งแก่คนเป็นและคนที่ตายไปแล้วบางคนเข้าใจผิด
ว่าการให้ส่วนบุญหรืออุทิศส่วนกุศลให้ได้เฉพาะคนตายเท่านั้นข้อนี้เข้าใจผิดแท้ที่จริง การให้
ส่วนบุญนี้สามารถให้ได้ทั้งแก่คนที่ยังมีชีวิตและแก่ท่านที่ล่วงลับไปแล้ว

                  การให้ส่วนบุญแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่จะให้ต่อหน้าก็ได้   ให้ลับหลังก็ได้

               การให้ต่อหน้า เช่นเราทำบุญมาสักอย่างหนึ่ง จะเกิดจากทานก็ตาม จากศีลก็ตาม
หรือจากภาวนาก็ตามเมื่อเราพบพ่อแม่หรือญาติมิตรก็บอกว่า "วันนี้กระผม (หรือดิฉัน)ได้บวช
ลูกหรือบวชหลานมาขอให้คุณพ่อ...จงได้รับส่วนกุศลนั้นด้วยขอให้อนุโมทนาในส่วนกุศลครั้ง
นี้ด้วย"   ผู้รับจะอนุโมทนาหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ให้ย่อมได้ส่วนบุญแล้ว   ถ้าเขาอนุโมทนา เขาก็ได้
รับบุญข้อปัตตานุโมทนามัย

               การให้ลับหลัง เช่นในปัจจุบัน ชาวไทยจำนวนมากรวมทั้งพระสงฆ์ เมื่อถึงวันเฉลิม
พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ก็มักจะบำเพ็ญบุญกุศลพิเศษโดยเสด็จพระราชกุศลมีการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา
แล้วถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านอย่างนี้ก็เรียกว่าปัตติทานมัยเช่นกัน

                  การให้ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเขาจะตายไปแล้วนานเท่าไรก็ได้   จะอุทิศ
เป็นภาษาไทยก็ได้   เป็นภาษาบาลีหรือภาษาอื่นใดก็ได้มีน้ำกรวดก็ได้ไม่มีน้ำกรวดก็ได้
มีกระดูกและชื่อของผู้นั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น   อย่างในกรณีเปรตผู้เป็นพระญาติ
ของพระเจ้าพิมพิสาร   พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรู้จักชื่อญาติเหล่านั้นแม้แต่คนเดียวพระองค์อ้างใน
คำอุทิศว่าเป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้   เพราะเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้นกำลังรอรับส่วนบุญอยู่แล้ว
ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่ญาติของพระองค์   หลังจากที่พระองค์ทรงบริจาคทาน
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า

               "อิทํ เม ญาตีนํ โหตุขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า สุขิตา
โหนฺตุ ญาตโยขอญาติทั้งหลายจงถึงความสุข"

                  เพียงเท่านี้ก็สำเร็จ   โดยพระองค์ไม่ได้ทรงบ่งชื่อญาติเหล่านั้นเลยแม้แต่พระองค์
เดียว   และในการอุทิศส่วนบุญครั้งนั้นไม่ต้องใช้น้ำเลย

                  การอุทิสส่วนบุญโดยมีน้ำกรวดเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังนี้เองคือหลังจากครั้ง
พุทธศาสนา   แต่จะเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่เท่าไรยังหาหลังฐานไม่พบ

               กล่าวกันว่า   พุทธศาสนิกชนในประเทศอินเดียเห็นพวกพราหมณ์ลงไปในแม่น้ำ
คงคา   เอามือวักน้ำแล้วหยอดลงไปในแม่น้ำตามเดิมพร้อมกับกล่าวอุทิศว่า"ขอให้น้ำนี้จงถึง
แก่พ่อแม่ของข้าพเจ้า"

                  พุทธศาสนิกชนเห็นพวกพราหมณ์กรวดน้ำเช่นนี้   จึงเห็นว่าเข้าทีดีจึงได้นำน้ำมา
ประกอบในการอุทิศส่วนกุศลเรียกกันในปัจจุบันว่า "การกรวดน้ำ" พระสงฆ์ก็เห็นว่าไม่ผิด
หลักพุทธศาสนาอันใด   จึงอนุโลมให้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

                แท้ที่จริง   การอุทิศส่วนกุศลที่เรียกว่าปัตติทานมัยนั้น เดิมทีไม่ต้องใช้น้ำเลย
ฉะนั้น   การอุทิศส่วนกุศลจะมีน้ำด้วยก็ได้   ไม่มีก็ได้ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น

kaineverdie โพสต์เมื่อ 22-7-2011 15:56

สาธุ สาธุ สาธุ   {:8_179:}

yongchai01 โพสต์เมื่อ 27-7-2011 20:29

สาธุครับ

pungkung โพสต์เมื่อ 30-7-2011 09:39

การให้ธรรมะประเสริฐกว่าการให้ใดๆในโลกนี้สาธุ{:8_179:}

Jay โพสต์เมื่อ 1-8-2011 22:47

{:8_179:}   สาธุ

win006 โพสต์เมื่อ 7-8-2011 18:34

สาธุครับ

TenThai โพสต์เมื่อ 11-3-2012 10:06

สาธุๆๆๆ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ