zrkonixx โพสต์เมื่อ 13-11-2010 17:37

การกรวดน้ำ สำคัญไฉน

การกรวดน้ำ



         การ กรวดน้ำคือการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ตนได้บำเพ็ญมา แผ่ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว นิยมทำหลังจากที่ทำบุญเสร็จในช่วงขณะที่จิตใจปลื้มด้วยบุญกุศลที่ได้ทำ หรือเมื่อะที่ระลึกถึงอุปการะคุณผู้ที่ล่วงลับไป

         ทำไมจึงใช้น้ำ ก็เพราะน้ำนั้นมีความใสสะอาด เปรียบเสมือนจิตใจที่ใสสะอาดของผู้ที่มีจิตเปี่ยมด้วยกุศล สายน้ำที่หลั่งลงนั้นเปรียบเสมือนสายน้ำใจของคนเราที่หลั่งไหลออกมาให้ปรากฏ แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
      น้ำใช้ในการประกาศความตกลงใจซึ่งเป็นนามธรรม เช่น   สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพก็ทรงใช้น้ำหลั่งลงเป็นสาย เป็นนิมิตหมายแห่งสายน้ำพระทัยอันเด็ดเดี่ยวที่ทรงแสดงออกให้เป็นที่ปรากฏ ต่อสาธารณชน
         น้ำใช้เป็นเครื่องหมายถึงการถวายของใหญ่ที่ยกไม่ได้เช่นวัดกุฎิ วิหารเหมือนพระเจ้าพิมพิสารทรงหลังน้ำถวายวัดเวฬุวัน
       วิธีการกรวดน้ำ
เมื่อพระท่านว่า ยถา... ให้เริ่มเทน้ำพร้อมอธิษฐานตามความประสงค์เมื่อพระท่านว่า สัพพี... ให้เทน้ำให้หมดแล้วประนมมือรับพร เป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า ยถาให้ผีสัพพีให้คน
         คำกรวดน้ำบาลีแบบย่อซึ่งง่ายต่อการจดจำคือ อิทัง เม ญาตีนัง โหตุสุขิตา โหนตุ ญาตะโยขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขหรือจะกล่าวเป็นภาษาของตนก็ได้
         เมื่อกรวดน้ำจบแล้วนิยมนำไปเทรดต้นไม้ คนเก่าคนแก่เชื่อว่าเพื่อให้แม่พระธรณีได้รับรู้ ส่วนคนยุคโลกาภิวัตน์เชื่อว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพันธุ์ไม้
       ข้อควรระวังในการกรวดน้ำ
1.เลือกใช้ภาชนะรองรับน้ำที่สะอาดคือ จะใช้แก้วน้ำหรือจานรองก็ได้ แต่ห้ามใช้ภาชนะที่ต่ำหรือสกปรก เช่น กระโถนเด็ดขาด
2.ควรใช้สองมือจับภาชนะน้ำที่เทแต่ไม่ควรใช้นิ้วมือรองหรือใช้นิ้วมือกันน้ำที่กรวดเป็นภาพที่ไม่สวย อีกอย่างหนึ่งน้ำเป็นของสะอาด แต่ร่างกายเป็นของสกปรกไม่ควรทำให้น้ำที่ใสสะอาดสกปรกไปด้วย
3.ไม่ควรจับติดต่อกันหรือพ่วงกันเป็นภาพที่ไม่สวย และไม่จำเป็นคนที่ไม่มีน้ำก็ประนมมืออุทิศด้วยใจ
4.น้ำที่กรวดเสร็จแล้วโบราณนิยมเทให้พ้นชายคา เพราะเชื่อว่าผู้ล่วงลับไปอยู่นอกชายคาแต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่เราอุทิศไปให้คือส่วนบุญไม่ใช่น้ำ ฉะนั้น จะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ไม่สำคัญมากนัก ที่สำคัญเทในที่ที่เหมาะสมเช่นไม่เทลงถังขยะ   หรือในที่สกปรก

         ที่ กล่าวมาทั้งหมด เป็นศาสนพิธีที่ใช้ปฎิบัติเป็นแบบแผนมาที่สำคัญที่สุดของการกรวดน้ำหรืออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น คือจิตใจที่แน่วแน่บริสุทธิ์ตั้งใจทำจริง   ทำด้วยเมตตาจิตอุทิศจากใจที่เปี่ยมด้วยกุศลผลบุญที่ได้ทำ

ปัญหาชวนคิด .-

   1.
      ทำไมจึงต้องกรวดน้ำหลังเวลาทำบุญ แล้วจะกรวดก่อนไม่ได้หรือ ?
          * ตอบ.-ปัจจุบันนิยมกรวดน้ำหลังจากทำบุญถวายทานเสร็จแล้ว เพื่อประสงค์จะทำเจตนาของตนให้บริสุทธิ์ทั้ง 3 กาล คือ 1. ในกาลก่อนให้ ซึ่งเรียกว่า ปุพพเจตนา เจตนาก่อนให้ 2. ในกาลที่กำลังให้ เรียบกว่า มุญจนเจตนา เจตนาขณะให้ 3. อปราปรเจตนา เจตนาต่อ ๆ ไปหลังจากให้ทานแล้ว
   2.
      จะหลั่งน้ำกรวด เวลาไหน ? หยุดเวลาไหน ?
          * ตอบ.-การหลั่งน้ำกรวด ควรหลั่งในเวลาที่พระเถระผู้เป็นประธานเริ่มอนุโมทนาว่า "ยถา วาริวหา..." ก็เริ่มหลั่งน้ำลงในภาชนะคือขันน้ำ หรือแก้วน้ำ ที่เตรียมไว้ พอพระรูปที่ ๒ รับว่า "สัพพีติโย" ก็หยุดหลั่งน้ำกรวด แล้วเทน้ำกรวดที่ยังเหลืออยู่นั้นลงในภาชนะที่รองรับน้ำให้หมด แล้วประณมมือรับพร
      ทำไมจึงต้องเทน้ำกรวดให้หมดในเวลาพระว่า ยถา จบลงและเริ่มรับสัพพี ?
          * ตอบ.-เพราะถือว่าเมื่อน่ำไหลไปมหาสมุทรสาครเต็มแล้ว ก็ไม่ไหลอีกต่อไป ความปรารถนาที่ตั้งไว้ก็บริบูรณ์ แล้ว ลำดับต่อไปก็ประณมมือรับพรจากพระ
      ทำไมจึงเทน้ำกรวดให้ไหลติดต่อกัน ไม่ให้ขาดสาย ?
          * ตอบ.-ความประสงค์เพื่อให้กุศลที่อุทิศไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้วได้รับไม่ ขาดระยะ ให้ติดต่อกันไป และความปรารถนาก็จะได้ไม่ขาดระยะ เป็นไปโดยราบรื่น เหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุทรสาคร ย่อมไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ หากเทน้ำให้หยดติ๋ง ๆ ขาดระยะ เปรียบเหมือนบุญกุศลที่จะได้ก็จะขาดระยะ ความปรารถนาก็จะขาดระยะ จึงให้เทน้ำหรือหลั่งน้ำเป็นสายเหมือนสายน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุมร หรือสายน้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำน้อยใหญ่ ฉะนั้น
   3.
      ทำไมจึงต้องกรวดน้ำ จะไม่กรวดได้หรือไม่ ?
          * ตอบ.-การกรวดน้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้ อีกทั้งเป็นการแสดงถึงความยินดีในการบำเพ็ญกุศลที่ได้ทำไว้แล้ว และเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เพื่อแสดงเจตนาของผู้กรวดน้ำ
   4.
      ทำไมจึงเทน้ำกรวดที่กลางแจ้ง ที่โคนต้นไม้ หรือในที่ไม่มีวัตถุสิ่งใดปกคลุม ?
          * ตอบ.-เพราะถือกันว่า การเทน้ำที่กรวดแล้วลงที่กลางแจ้ง เป็นที่สะอาด หรือโคนต้นไม้นั้น เพื่อต้องการปลูกฝังนิสัยให้รักต้นไม้
   5.
      ทำไมต้องใช้น้ำกรวด จะกรวดแห้งไม่ได้หรือ ?
          * ตอบ.-การใช้น้ำกรวด เพราะถือตามประเพณีนิยมที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราษกาล และให้สมกับคำอนุโมทนาของพระที่ว่า "ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาคะรัง เหมือนห้วงน้ำที่ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉะนั้น" จะกรวดน้ำโดยไม่ใช้น้ำหรือที่เรียกกันว่ากรวดแห้งก็ได้ เรียกว่าปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ ฯ
   6.
      ทำบุญแล้วไม่กรวดน้ำจะได้อานิสงส์หรือไม่ ?
          * ตอบ.-ได้ เพราะผู้ทำบุญก็ต้องได้บุญ ทำความดีก็ต้องได้ดี บุญต้องเป็นของผู้ทำบุญตลอดไป ไม่ไปไหนเสีย
   7.
      เวลากรวดน้ำใช้มือขวาหรือมือซ้ายกรวดน้ำ ?
          * ตอบ.-ควรใช้มือขวา เพราะมือขวาเป็นมือที่แสดงถึงความเคารพ เป็นการเคารพในทานที่ตนให้ และเคารพในปฏิคคาหกคือผู้รับทานจากเราด้วย การเคารพกันเขาใช้มือขวาแสดงความเคารพกันทั่วโลก เป็นสากลนิยม
   8.
      เวลาหลั่งน้ำกรวด ต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำหรือไม่ ?
          * ตอบ.-ไม่จำเป็นต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำกรวด เพียงแต่ใช้มือซ้ายจับภาชนะเปล่าไว้ จะจับที่ขอบปากหรือที่ตัวภาชนะก็ได้ ไม่ต้องจับเลยก็ได้ ใช้แต่มือขวาจับที่กรวดน้ำ เช่น แก้วน้ำ คณโฑน้ำ หรือถ้วยน้ำอย่างเดียวก็ได้
   9.
      การกรวดน้ำจะกรวดด้วยภาษาไทยได้หรือไม่ ?
          * ตอบ.-การกรวดน้ำด้วยภาษาไทยเห็นว่าใช้ได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง หรือข้อห้ามแต่ประการใดการกรวดน้ำด้วย ภาษาอะไรนั้น ไม่สำคัญ แต่จุดสำคัญอยู่ที่การตั้งใจ ตั้งความปรารถนาดี คนเราจะได้ดีก็เพราะการตั้งจิตไว้ให้ดีเท่านั้น





ที่มา : http://www.dhammajak.net/dhammabox-2/7.html
http://phrabuddhasasana.com/index.php?option=com_content&view=article&id=212&catid=80&Itemid=45

chayadaj โพสต์เมื่อ 13-11-2010 19:18

เวลากรวดน้ำ นึกตลอดเลย....
ว่าจะให้ใครบ้าง จนบางครั้ง กังวลว่า ทั่วถึงไหม....?
ขอบคุณข้อมูลนะคะ{:8_179:}

zrkonixx โพสต์เมื่อ 13-11-2010 19:47

ตอบกลับ 2# chayadaj


    เหมือนกันเลยครับ ไล่นึกทีนึง ยาวเป็นหางว่าวเลย อิอิ

TeddyReyez โพสต์เมื่อ 16-11-2010 11:19

ขอบคุณสำหรับ ความรู้ดีดีครับ *

vampire โพสต์เมื่อ 19-11-2010 21:34

ได้ความรู้อีกแล้วววววววว

Uanprew โพสต์เมื่อ 28-1-2011 14:24

{:8_165:}อนุโมทนา สาธุ สาธุ{:8_165:}

TenThai โพสต์เมื่อ 12-2-2012 18:46

สาธุ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: การกรวดน้ำ สำคัญไฉน