เชน โพสต์เมื่อ 16-7-2010 22:52

สำหรับท่านที่ต้องการเรียนคาถาจริงๆ

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่ถ่ายทอดข้อมูลนี้ที่เป็นประโยชน์ให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษา
ผมสังเกตุดูคนรุ่นใหม่สนใจคาถาอาคม แต่ไม่รู้จะทําอย่างไร ขอแนะนําว่าคาถาอาคมมีมานานหลายร้อยปีสืบทอดกันมาจากคนโบราณ เป็นคําบริกรรมที่ศักสิทธ์ มีแรงครูอยู่ในตัวคาถา จะนํามาสวดล้อเล่นหรือคึกคะนองไม่ได้เป็นอันขาด ต้องถามตัวเราเองมีใจรักที่จะเรียนจริงๆหรือเปล่า ทุกอย่างมีเคล็ดลับไม่ใช่ทํากันง่ายๆ ต้องมีสัจจะ มีคุณธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ห้ามด่าพ่อแม่คนอื่นโดยเด็ดขาด หาครูบาอาจารย์ที่รู้จริงสอนให้ สมมุติว่าคุณอยากจีบสาวไปหาคาถามหาเสน่ห์มหานิยมมาท่องแล้วหวังจะให้สาวรัก ไม่ได้ผลหรอกครับ หรืออยากจะเสดาะกุญแจได้คาถามาเปล่ากุญแจให้หลุด ไม่ได้ผลหรอกครับ ยกตัวอย่างหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยาท่านเคยเล่าไว้ว่า สมัยท่านเรียนคาถาใหม่ๆ ได้คาถาเสดาะกุญแจมา ท่านนั่งเป่ากุญแจทุกวันเป็นเดือน กุญแจก็ไม่หลุดเพราะจิตมีความอยากให้กุญแจหลุด แต่พอวันต่อมาจิตท่านสงบไม่คิดอะไรเป่ากุญแจผลัวะเดียวหลุด ฉะนั้นเคล็ดลับจะใช้คาถาอาคมให้ได้ผลอยู่ที่จิตตัวเดียว ต้องฝึกนั่งสมาธิจนเกิดความชํานานจึงจะทําได้

อยากฝึกจิตให้สงบลองภาวนาคาถา ธาตุทั้ง4ดิน นํ้า ลม ไฟ คือ นะมะพะทะ ให้ฝึกว่าสลับคําดูดังนี้ นะมะพะทะ,มะพะทะนะ, พะทะนะมะ, ทะนะมะพะ ถ้าคุณภาวนาได้คล่องโดยไม่สับสนเมื่อไร แสดงว่าจิตคุณใช้ได้ ภาวนาคาถาบทไหนก็ขลังหมด ถ้าจะใช้คาถามหานิยมต้องทําจิตให้มีเมตตาอ่อนโยนจริงๆ จึงจะได้ผล

ขอมอบคาถาของหลวงพ่อเดิม ที่เสือ(นักเลง) สมัยก่อนใช้หลบหนี บังตาคนอื่นไม่ให้เห็นแค่อึดใจ เช่นจับกอหญ้าแล้วกั้นใจภาวนา เรียกว่าคาถาบังไพร ว่าดังนี้ พุทธังบังจักขุ บังอุไม่เห็นอุ ธัมมังบังจักขุ บังอุไม่เห็นอุ สังฆังบังจักขุ บังอุไม่เห็นอุ โหติสัมภะโว/ คาถาเสดาะกุญแจว่า โลปุสุสะวิภุสังพะอะ ด้วยความปราถนาดีครับผม

เชน โพสต์เมื่อ 16-7-2010 23:29

วิธีการนั่งสมาธิ อ.ไตรลักษณ์นั่งทุกวันได้จะเป็นการดี ฝึกให้ติดเป็นนิสัย ขี้เกียจก็ทํา ขยันก็ทํา สงบก็ทํา ไม่สงบก็ทํา ไม่ใช่ทําบ้างไม่ทําบ้าง ไม่ได้ผลหรอก การนั่งสมาธิไม่สามารถกําหนดเวลาได้หรอก ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างของตัว ผู้ปฏิบัตเอง เช่นบารมีเก่าดั้งเดิมที่สะสมมา สุขภาพของผู้ปฏิบัต เวลาที่จะปฏิบัตมีมากน้อยแค่ไหน มีศรัทธาใจรักในการนั่งสมาธิมากน้อยแค่ไหน มีความเพียรพยายามอดทนได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ต้องกําหนดเวลา เพราะจะทําให้วอกแวก เช่นคุณตั้งเวลาไว้ว่าจะนั่ง 20 นาที พอนั่งไปได้5 นาทีรู้สึกนานก็ลืมตาดูนาฬิกา อ้าวเพิ่งผ่านไปแค่5 นาที หลับตานั่งต่อไปอีกพักใหญ่จนรู้สึกนานว่าน่าจะถึง20 นาทีอดที่จะลืมตาดูนาฬิกาไม่ได้ อ้าวแค่15 นาทียังไม่ถึง ใจคุณไปจดจ่อกับเวลาและนาฬิกา เลยกลายเป็นอุปสรรคในการนั่งจึงไม่ได้ผลครับ นั่งให้นานเท่าที่จะทนได้ พอฝึกบ่อยๆจิตเชื่องเริ่มสงบก็ชํานาญเอง อย่าส่งใจออกนอกให้จดจ่อองค์บริกรรมภาวนาไว้ ดูที่ตั้งฐานของจิตตรงปลายจมูกไว้ ฝึกใหม่ๆจะฟุ้งซ่านอดคิดโน่น คิดนี่ไม่ได้ ปวดขาบ้าง ง่วงหงาวหาวนอนบ้าง นี่คืออุปสรรคที่ทุกคนต้องเจอ เขาเรียกว่า นิวรณ์ เป็นกําแพงขวางกั้นความสงบ ฝ่าด่านนี้ให้ได้ มีสติ คือความระลึกได้ว่าเรากําลังทําอะไรอยู่ ( สตินี้สําคัญมากเป็นตัวเอกในการนั่งสมาธิ) ต้องใช้หลักธรรมข้อ อิทธิบาท4 คือธรรมที่ช่วยให้สําเร็จในการปฏิบัต มี4 ข้อ คือ ฉันทะ = มีใจรักชอบในการปฏิบัต วิริยะ = มีความเพียรพยายาม มุมานะในการปฏิบัต จิตตะ = มีใจจดจ่อ มุ่งมั่นในการปฏิบัต วิมังสา = หมั่นตรวจสอบการปฏิบัตว่า ก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหน ถ้าทําตามหลักธรรมนี้สําเร็จทุกราย ครับ

เชน โพสต์เมื่อ 17-7-2010 09:42

คาถาบูชาพระอุปคุต (พระบัวเข็ม) สวดจริงๆทุกวันรับรองว่าไม่จน ว่าดังนี้ อุปะคุตโตจะมหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โสอิทานิ มหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหังวันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตังจะ มหาเถรัง ยังยัง อุปัทวังชาตัง วิทังเสติ อะเสสะโต มหาลาภัง ภะวันตุเม/

คาถาเมตตามหานิยมของ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม ว่าดังนี้ นะละลวย โมละลาย พุทธสูญหาย ธาเห็นกูอยู่มิได้ ยะไปมิได้กลับมา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มนุษย์สตุลหิๆๆๆๆ

ฝากข้อคิด/ หนามนั้นแหลมเอง มะนาวนั้นกลมเอง ไม่ต้องมีใครเหลาปั้นกลึง / เรากางร่มก่อน ร่มถึงจะมากางเรา ถ้าเรามีศีลธรรมแล้ว ศีลธรรมก็มารักษาเรา เป็นเรื่อง ปัจจัตตัง อัตตะโน นาโถ (ทําเอง รู้เอง เห็นเอง)

เชน โพสต์เมื่อ 17-7-2010 09:46

ข้อคิด/ สมาธิเปรียบเหมือนต้นไม้ ศีลเหมือนพื้นดิน สมาธิอาศัยศีล เหมือนต้นไม้อาศัยพื้นดิน/ เมตตาเหมือนเสื้อเกราะ ปืนยิงไม่เข้า

นกน้อยมันมองไม่เห็นผนังกระจก มันคิดว่ากระจกนั้นเป็นที่ว่าง มันจึงบินชนกระจกอย่างแรงจนคอหักตาย ส่วนคนที่ชอบพูดถึงความว่าง แต่ยังคิดว่าตัวเองเป็นผู้มีบุญญาบารมีอันวิเศษ และมักจะทําตัวเป็นจุดเด่นให้คนเลื่อมใส คนๆนั้นก็คือนกน้อยที่คิดว่ากระจกเป็นความว่าง แล้วมันก็บินถลาเข้าไปชนกระจกตาย อย่างนี้เรียกว่า " ความว่างบังกระจก " คนที่ยังไม่รู้แจ้งธรรมมะก็จักเป็นอย่างนั้นเสมอ/

ชีวิตของคนเรา เปรียบได้กับแสงตะเกียง บางคราวก็โชติช่วงรุ่งเรือง บางครั้งก็ริบรี่เศร้าหมอง / อย่าอวดตัวเองว่าฉลาด ปราชญ์เรืองปํญญายังมีอยู่ ท่านอาจรู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ ควรตรวจดูสติปัญญาของตัวเอง

เชน โพสต์เมื่อ 17-7-2010 09:52

"ทวนกระแสนํ้า" การปฏิบัตินั้นคือทวนกระแส ทวนกระแสนํ้าใจของเราเอง ทวนกระแสของกิเลส อะไรที่เป็นของทวนกระแสแล้วมันลําบาก พายเรือทวนกระแสก็ลําบาก สร้างคุณงามความดีนั้น ก็ลําบากเสียหน่อยหนึ่ง เพราะว่าคนเรามีกิเลส ไม่อยากจะทํา ไม่อยากจะยุ่งยาก ไม่อยากจะอดทน อยากจะปล่อยไปตามอารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่ เหมือนนํ้านั่นแหละ มันก็ไหลไปตามเรื่องของมัน ถ้าปล่อยให้ไหลไปตามนํ้าก็สบาย แต่ว่านั่นไม่ใช่ลักษณะของการปฏิบัติ ลักษณะการปฏิบัติต้องฝืน ฝืนกิเลส ฝืนใจของตนเอง ข่มจิตเจ้าของ ทําความอดทนให้มากขึ้น มันจึงเป็นการปฏิบัติทวนกระแสนํ้า


คาถาเจิมรถ,เจิมประตู,เจิมบ้านดีนัก/ แป้งที่จะเจิมเสกว่า อะสังวิสุโลปุสะพุภะ(9คาบ) ครั้งแรกให้เอามือกวาดตรงที่จะเจิม แล้วว่า พุทธังปัจจักขามิ ธัมมังปัจจักขามิ สังฆังปัจจักขามิ เอามือกวาด3ครั้ง เสร็จแล้วเอามือวางแปะลงตรงที่จะเจิมนั้นว่า ปะฐะมัง สิริสังชาตัง ทุติยัง อังคะเมวะจะ ตะติยังฐานะเมวะจะ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ / แล้วจึงเจิมดังนี้ เจิมโดยเอานิ้วมือขวา จิ้มลงที่แป้งซึ่งเสกเตรียมไว้แล้วเจิมว่า อะสังวิสุโลปุสะพุภะ ทั้งนี้จะมี9จุด แบ่งออกเป็น3แถว แถวล่างมี4จุด, แถวกลางมี3จุด, แถวบนมี2จุด,ยอดสุดเป็นตัวอุณาโลม (คล้ายๆเลข9ไทย) เจิมจุดหนึ่งก็บริกรรม อะสังวิสุโลปุสะพุภะ ครั้งหนึ่งจนกว่าจะครบ9จุด บริกรรม9ครั้ง ส่วนตัวอุณาโลมเจิมไปบริกรรมไปว่า อุณาโลมา ปะนะชานะเต อะสังวิสุโลปุสะพุภะ เสร็จแล้วให้เอามือกุมครอบจุดทั้งหมด แล้วภาวนาคาถา มงกุฏพระพุทธเจ้า ว่า อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ (9คาบ)

aaa12345 โพสต์เมื่อ 23-7-2010 22:01

เรียนอาจารย์ ขอถามเรื่องคาถาเจิมรถ หน่อยครับ
-ที่ว่าเอามือกวาดนั้นหมายถึงเอามือเราไปปัด ไปลูบ ตรงบริเวณที่จะเจิม ใช่ไหมครับ กวาดครั้งหนึ่งว่าคาถาจนจบครั้งหนึ่งใช่ไหม
-เสร็จแล้วเอามือแตะตรงที่จะเจิมเฉยๆ แล้วว่าคาถาไปถูกไหมครับ
-จากนั้นเจิม แต่ละจุดก็ว่าอะสังวิสุโลปุสะพุภะเมื่อถึงอุนาโลม ก็ว่า อุณาโลมาฯ ใช่ไหมครับ
-คำว่าคาบกำหนดด้วยลมหายใจเข้าออก โดยบริกรรมคาถาได้กี่ครั้งตลอดลมเข้าออกก็ถือว่าเป็น 1คาบถูกไหมครับ

aaa12345 โพสต์เมื่อ 23-7-2010 22:02

ขอฝากตัวกับอาจารย์ด้วยนะครับ boora4@gmail.com

เชน โพสต์เมื่อ 23-7-2010 23:16

ถูกต้องครับ

wittayu โพสต์เมื่อ 23-9-2013 21:51

ผมด้วยครับwitnu4157@gmail.com

mail โพสต์เมื่อ 23-9-2013 22:02

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย mail เมื่อ 30-9-2013 10:56

:lol

คนคอน โพสต์เมื่อ 4-10-2013 09:28

{:8_179:}{:8_169:}

nook โพสต์เมื่อ 20-8-2014 02:13

ขอบคุนมากครับ

mike_01 โพสต์เมื่อ 30-3-2015 22:30

พี่เชนพอจะมี ไลน์ หรือ เฟชบุ้ค ติดต่อสอบถามใหม คับผมเสาะหามานานเเร้ว เเต่อยากได้ที่ปรึกษา ด้วยอะคับ

หฤทธิ์ โพสต์เมื่อ 21-9-2016 09:05

ผมอยากเรียนวิชามนคาถาต่างฯพอมีวิธีใหมครับช่วยชี้แนะและนำางผมทีครับะ

หฤทธิ์ โพสต์เมื่อ 21-9-2016 09:07

ผมอยากเรียนวิชามนคาถาต่างฯพอมีวิธีใหมครับช่วยชี้แนะและนำทางผมทีครับ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: สำหรับท่านที่ต้องการเรียนคาถาจริงๆ