non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:35

กรรมฐาน 40 วิธี

                กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย

      กรรมฐาน 40 เป็นอุบาย 40 วิธีที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้เข้าแล้ว จะชักนำให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้ จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์อรรถกถาและปกรณ์ ได้รวบรวมแสดงกรรมฐานไว้ 40 อย่าง

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:37

         แบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้

หมวดกสิน ๑๐
เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:37

หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐
เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด๑๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๑๒. วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
๑๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๑๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
๑๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๑๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๑๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๑๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๑๙. ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๒๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:38

อนุสสติกรรมฐาน ๑๐

อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว๒๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๒๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๒๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๒๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
๒๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
๒๗. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๒๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
๒๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
๓๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:39

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา๓๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส
หมวดจตุธาตุววัฏฐาน๓๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:39

หมวดพรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่๓๓. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
๓๔. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓๕. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
๓๖. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:39

มวดอรูปฌาณ ๔
เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์๓๗. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๘. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๙. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
๔๐. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:41

กายคตาสติ (อ่านว่า กา-ยะ-คะ-ตา-สะ-ติ) แปลว่า สติที่เป็นไปในกาย เป็นวิธีทำกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐
กายคตาสติ คือการใช้สติไปรู้อวัยวะในร่างกายของตน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นของไม่งาม ปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น พิจารณาไปจนเห็นความจริง จิตยอมรับความจริงได้ เกิดความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในกาย ไม่ยึดมั่นถือมั่นกายต่อไป
กายคตาสติ เมื่อระลึกถึงอยู่เนือง ๆ ย่อมส่งผลให้หมดความยินดียินร้าย หมดภัยและความขลาดลงได้ ใจวางอุเบกขาต่อทุกขเวทนาได้ ส่งผลให้จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน บรรเทาราคะและความยึดมั่นถือมั่นในกาย ถอนความเห็นผิดว่าสวยว่างามลงได้

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:41

อานาปานสติ (–ปานะสะติ) มีอยู่ 16 คู่ คือ
1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้
2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ (ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นเมื่อใจเป็นสมาธิ)
3.หายใจเข้า-ออกกำหนดกองลมทั้งปวง (จิตจะกำหนดแต่กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
4.หายใจเข้า-ออกเห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
7.หายใจเข้า-ออก กำหนดจิตสังขาร (อารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง) ทั้งปวง /ที่เหลือเพียงอารมณ์อุเบกขา (ถ้ากำหนดมาตามระดับ)
8.หายใจเข้า-ออก เห็นจิตสังขารสงบก็รู้ (ครูบาอาจรย์บางรูป วินิจฉัยว่า ช่วงนี้จิตจะไม่กำหนดสัญญา)
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณาสภาวะรู้(วิญญาณขันธ์)/ว่าจิตพิจารณารู้ในอานาปานสติอยู่
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง (มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/จิตยินดีในองค์ภาวนาคืออานาปานสติ) ก็รู้
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (ในอารมณ์ฌานของอานาปานสติ) ก็รู้
12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง (ในอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตแห่งอานาปานสติ) ก็รู้
13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง ) ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์)
14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง (การไม่ปรุงแต่งภายนอก หรือวิราคะคือการมีมานะให้ค่าตีราคาสรรพสิ่ง เช่น ต้นไม้ย่อมมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ลักษณะไม่สวย)
15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด (การไม่ยึดมั่นภายใน หรือนิโรธ เช่นมีคนนำขวดน้ำมาวางไว้ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่ากินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้นเพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ (ปฏินิสสัคคายะ)[*]จัดให้ข้อ1-4เป็นกายานุปัสสนา[*]ข้อ5-8เป็นเวทนานุปัสสนา[*]ข้อ9-12จัดเป็นจิตตานุปัสนา[*]ข้อ13-16จัดเป็นธรรมนุปัสสนา
อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมากดังจะอธิบายต่อไป เนื่องจากอานาปานสติสามารถที่ภาวนาลัดให้มาสู่สัมมสนญาน 1ใน ญาณ16ได้ โดยไม่ต้องเจริญสติและพิจารณาสัญญา 10ไปด้วย เหมือนอย่างอื่นๆ
เมื่อเจริญอานาปานสติตามข้อ1 สภาวะย่อมเป็นไปโดยลำดับจากข้อ 1 จนถึงข้อ12 จิตจะเป็นปฐมฌาณอันเกิดจากการเจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบเห็นขันธ์ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้นเกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง10สภาวะ[*]โดยที่ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์[*]ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)[*]ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์[*]ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์[*]ข้อ11-12เป็นสัญญาขันธ์
เมื่อเห็นขันธ์ทั้งห้า ตามตั้งแต่ข้อ1-12ย่อมเห็นขันธ์ห้า (อันมีลมหายใจเป็นตัวแทนแห่งรูปขันธ์) เกิดดับตลอดจนเห็นเป็นอนิจจัง ( ข้อ13หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ) โดยสมบูรณ์พิจารณาข้อ13ไปจนบรรลุข้อ14หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง ,15พิจารณาโดยไม่ยึดติด ,16 หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:42

อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ[*]อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด[*]วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ[*]วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม[*]วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว[*]วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน[*]วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป[*]หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ[*]โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง[*]ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน[*]อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:43

กรรมฐาน 2 อย่าง
ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ[*]สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ[*]วิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:43

สมถกรรมฐาน คือกรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ได้แก่การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยใช้สมาธิเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญาและ มุ่งให้จิตสงบ ระงับจากนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดีเป็นสำคัญ
สมถกรรมฐาน เป็นอุบายวิธีที่หยุดความฟุ้งซ่านแห่งจิตซึ่งมักจะฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ กล่าวคือ หยุดความคิดของจิตไว้ โดยใช้สมาธิยึดดึงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน40กองมาบริกรรมจนกระทั่งจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้น และสงบระงับไม่ฟ้งซ่านต่อไป

สมถกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งบริหารจิตเป็นหลัก คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน ที่มุ่งการอบรมปัญญาเป็นหลัก

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:44

วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้สติเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐานบำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีร์ทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.
รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก
ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:44

อารมณ์ของวิปัสสนา
ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนาได้ด้วยการไล่ตามวิถีจิตไปตามกฏเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้งปรมัตถ์และบัญญัตติเป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์, แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์เช่น ไตรลักษณ์ หรือ อิริยาบถต่างๆ เป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์.
วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมมะ 201 เป็นต้น เช่น[*]ขันธ์ 5[*]อายตนะ 12[*]ธาตุ 18[*]อินทรีย์ 22[*]อริยสัจ 4[*]ปฏิจจสมุปบาท 12
วิปัสสนาภูมิที่ยกมานี้ ท่านเอามาจากพระไตรปิก เช่นจาก สติปัฏฐานสูตร (ม.มู.) สังยุตตนิกาย (สุตฺต.สํ.) วิภังคปกรณ์ (อภิ.วิ.) เป็นต้น. ที่ทราบได้ว่า วิสุทธิมรรคยกมาพอเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายของวิปัสสนาภูมิทั้ง 6 นี้ มี "อาทิ"ศัพท์ (แปลว่า เป็นต้น) อยู่ด้วย. ฉนั้น ในปรมัตถมัญชุสา วิสุทธิมรรคมหาฏีกา จึงอธิบายอาทิศัพท์ ว่า หมายถึงอาหาร 4 เป็นต้นด้วย และกล่าวต่อไปอีกว่า ให้ท่านผู้อ่านเทียบเคียงธรรมะหมวดอื่นๆ ตามนัยนี้ได้อีก.
ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกานั้น จะไม่มีการจำกัดให้วิปัสสนามีแต่ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เพราะในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาก็มีทั้งจุดที่ท่านแสดงให้วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์และเป็นบัญญัติก็มี ส่วนมติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น" เป็นมติของอาจารย์ชาวพม่ารุ่นหลังซึ่งเชิญเข้ามาในสมัยของพระอาจารย์ อาจ อาสภมหาเถระ มีอาจารย์เตชิน และอาจารย์สัทธัมมโชติกะ เป็นต้น. ในฝ่ายไทยเมื่อตรวจสอบตามสายวัดป่า ก็พบว่า ไม่มีข้อบัญญัติว่า "วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์เท่านั้น"มาแต่เดิม.

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 17:44

การเรียนวิปัสสนากรรมฐาน
การเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องเรียนศีลและสมาธิจนปฏิบัติได้มาก่อน หรืออาจเรียนไปพร้อมกันก็ได้ ซึ่งอาจจัดช่วงของการเรียนตามมหาสติปัฏฐานสูตรอรรถกถาได้เป็น 2 ช่วงใหญ่ คือ[*]ช่วงปริยัตติ[*]อุคคหะ คือ การท่อง เพื่อทำให้จำวิปัสสนาภูมิ อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อาหาร เป็นต้นได้ โดยเลือกท่องเฉพาะส่วนที่สนใจก่อนก็ได้และต้องจำให้คล่องปากขึ้นใจพอที่จะคิดได้เองโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ.[*]ปริปุจฉา คือ การหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายละเอียดของวิปัสสนาภูมินั้น ๆ เพิ่ม ซึ่งอาจจะสงสัย หรือ ติดขัดอยู่ โดยอาจจะเปิดหนังสือค้น หรือไปสอบถามจากอาจารย์ผู้เชียวชาญชำนาญในสาขานั้น ๆ ก็ได้.[*]สวนะ คือ การฟัง หรือ อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เพื่อทำความเข้าใจหลักธรรมะโดยรวม ให้สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน.[*]ธารณะ คือ การจำธรรมะ ตามที่ได้อุคคหะ ปริปุจฉา สวนะมาได้ เพื่อจะนำไปพิจารณาในช่วงปฏิบัติต่อไป.[*]ช่วงปฏิบัติ[*]สังวระ คือ การปฏิบัติศีล.[*]สมาปัตติ คือ การปฏิบัติสมาธิให้ได้ อุปจาระหรืออัปปนา.[*]สัมมสนะ คือ การปฏิบัติวิปัสสนา คือ พิจารณาปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะด้วยการคิดหน่วงเอาธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นมาแยกแยะหาความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัตลักษณะ และเพ่งไตรลักษณ์ ในธรรมะที่ได้ปริยัตติมานั้นอีก ด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธัมมนิชฌานักขันติญาณ. ในที่นี้ เฉพาะสัมมสนะนี้เท่านั้นที่เป็นช่วงปฏิบัติวิปัสสนา.
สถานที่สำหรับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามมหาสติปัฏฐานสูตรบรรยายไว้สามแห่ง คือ ป่า โคนต้นไม้ ที่ว่างเปล่า (สุญญาคาร เรือนว่าง) แต่พึงทราบว่า ตามกัมมัฏฐานคหณนิทเทส ในวิสุทธิมรรคนั้น เนื่อจากท่านกล่าวอุปสรรคของวิปัสสนาให้มีแค่อย่างเดียว คือ การฝึกทำฤทธิ์เดชมีการเหาะเหิรเดินอากาศเป็นต้น (ถ้าแค่ฌานนั้นไม่นับเพราะง่ายกว่าฤทธิ์มาก) ฉะนั้น วิปัสสนาจึงปฏิบัติได้ทุกที่ แต่ที่ๆเหมาะสมที่สุด และควรจะหาให้ได้ ก็คือ ป่า โคนไม้ เรือนว่าง ห่างไกลคน โล่ง ๆ นั่นเอง เพราะจะทำให้ศีลและสมาธิดีกว่ามากมายยิ่งนัก ปัญญาก็จะกล้าขึ้นได้ไวไปด้วยเช่นกัน.
หน้า: [1] 2 3 4 5 6
ดูในรูปแบบกติ: กรรมฐาน 40 วิธี