non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 15:17

เรื่องของศีล

ศีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อประโยชน์ขั้นพื้นฐานคือความสุขและไม่มีการเบียดเบียนกันในสังคม
ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้
ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้วย.

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 15:18

ระดับของศีลในทางพระพุทธศาสนา
ศีล แบ่งเป็น 3 ระดับ คือจุลศีล (ศีลอย่างน้อย) ได้แก่ คหัฏฐศีลทั้ง 2 คือ ศีล5 และอาชีวัฏฐมกศีล มัชฌิมศีล (ศีลอย่างกลาง) ได้แก่ บรรพชาศีลทั้ง 2 คือได้แก่อัฏฐศีล และทสศีล มหาศีล (ศิลอย่างสูง) ได้แก่ อุปสมบททั้ง2 คือ ภิกษุณีวินัย และภิกษุวินัย[*]ปัญจศีล (ศีล 5) หรือเรียกว่านิจจศีล (คือถือเนื่องนิจจ์)[*]อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลกุศลกรรมบท 10) หรือเรียกว่าอาทิพรหมจริยาศีล (หรือเรียกอีกอย่างว่า นวศีล)[*]อัฏฐศีล (ศีล 8) หรือเรียกว่าอุโบสถศีล (ศีลอุโบสถ)[*]ทสศีล (ศีล 10)[*]ภิกษุณีวินัย (ศีล 311)[*]ภิกษุวินัย (ศีล 227)

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 15:18

ระดับแห่งศีลที่ต่างกัน เพราะระดับของสัมมาอาชีวะต่างกัน
กล่าวคือระดับของศีลคือระดับขั้นของการใช้ปัจจัยบริโภค เท่าที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต[*]ศีล 5 คือเสพโดยไม่เบียดเบียน[*]อาชีวัฏฐมกศีล แสวงหาทรัพย์อย่างไม่เป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อนจากการแสวงหาทรัพย์นั้น[*]อุโบสถศีล คือ การไม่เสพกามคุณ เพราะมนุษย์ไม่เสพกามคุณ ก็ไม่เสียชีวิตเพราะอดตาย[*]ทสศีล คือ การดำรงชีวิต อย่างนักบวชแท้จริง คือไม่สะสมลาภมีเงินและทอง ดุจฆราวาส แต่ดำรงชีวิตได้ด้วยการขอ อันเป็นเหตุให้ระวังการปฏิพฤติให้ดี ให้สมกับที่ชาวบ้านให้[*]ภิกษุณีวินัย และ ภิกษุวินัย คือการดำรงค์ชีวิตที่ประหยัด เหมาะสม คุ้มค่า ไม่เดือดร้อนทายกผู้ให้ รักษาปัจจัยที่ทายกให้แล้ว พอเพียงเท่าที่มี มีระเบียบที่ไม่หนักใจผู้ให้[*]ธุดงค์ แม้จะไม่จัดเป็นศีลหรือวินัย เพราะไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบังคับให้ทำ แต่ก็ไม่ทรงห้าม เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากและลำบาก ทรงสรรเสริญผู้ปฏิบัติ จัดเป็นการควบคุมการใช้ปัจจัยสี่ที่อุกฤตที่สุด

Naiin โพสต์เมื่อ 26-11-2011 15:56

อนุโมธนา สาธุ อามิน และอาเมน {:8_179:} สีเลนะ สุคะติงยันติ บุคคลย่อมไปสู่สุคติก็เพราะศีล สีเลนะ โภคะสัมปะทา ย่อมถึงพร้อมด้วยโภคะสมบัติก็เพราะศีล สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ย่อมไปสูนิพพานก็เพราะศีล

non-zaa โพสต์เมื่อ 26-11-2011 16:33

อานิสงส์รักษาศีล
......พ่อค้าสำเภา ได้ไปค้าขายหัวเมืองต่าง ๆ ในท้องมหาสมุทรอยู่มาวันหนึ่งเกิด
มรสุมพายุพัดอันแรงกล้า จนพวกพ่อค้าสำเภาหมดปัญญาแก้ไขได้คิดทอดอาลัยตามแต่บุญกรรม หัวหน้าพ่อค้าสำเภาเรียกมาพร้อมกัน ๕๐๐ คน ให้สมาทานศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไปในชาติหน้ากันเถิด เมื่อสมาทานศีลจบแล้ว เรือสำเภาก็แตก จมลงในมหาสมุทรนั้น พ่อค้า ๕๐๐ คน ถึงแก่ความตายพร้อมกันหมดด้วยอำนาจรักษาศีลด้วยความตั้งใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น ก็ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองเป็นที่อยู่ตลอดทั้ง ๕๐๐ คน

flame-rakdee001 โพสต์เมื่อ 26-11-2011 18:04

อนุโมธนา สาธุ

camry โพสต์เมื่อ 27-11-2011 04:15

ที่จริงแล้วผมก็ว่าจะตั้งกะทู้เรื่องศีล 5 ที่เราๆนับถือกันอยู่ว่าตกลงที่สอนๆกันอยู่มันใช่หรือไม่(หรือผมเข้าใจผิดไปเอง)
อยากให้ทุกท่านเข้าใจและช่วยกันวิเคราะห์ดูตามเหตุผลนะครับ(ไม่ใช้อารมณ์{:3_60:})

camry โพสต์เมื่อ 27-11-2011 05:04

เริ่มข้อหนึ่ง
ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตท่านฟังดูแล้วเป็นอย่างไร
ในส่วนของผม ไม่ฆ่าสัตว์พอเข้าใจ แต่ตัดชีวิตนี้ยังไม่เข้าใจเพราะ
พืชก็มีชีวิต ส่วนสัตว์ก็ใส่ลงไปในบาตร(ข้าวปลาอาหารแห้ง)ล้วนมีชีวิตทั้งนั้นแล้วกินอะไรทีนี้ถึงจะไม่ผิดศีล

ผมมาิเคราะห์ดูผมว่าหน้าจะเป็นอุบายธรรมง่ายๆ(เพราะเป็นศีลที่ทุกคนปฏิบัติได้ง่าย)
ศีลคือปกติ ถ้าไม่ปกติก็ผิดศีล จากที่กำหนดไหว้ว่าสัตว์สิบอย่างห้ามกินเช่นเสือช้างงูสุนัข
ถ้าเป็นสมัยพุทธการมัันเป็นเรื่องจริงที่ห้ามเพราะแต่ละอย่างโอกาสที่มันจะกินเรากับเราจะกินมันเท่าๆกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ผิดศีลแน่นอนเพราะไม่ปกติส่วนพระท่านใครใส่อะไรมาให้ท่านก็ฉันหมดทุกอย่างที่อยู่ในบาตร (กล่าวถึงพระถึงเจ้าอย่าได้บาปเลยครับ)
ตกลงพระท่านก็ฉันสัตว์เหมือนกันแต่ท่านไม่ได้ฆ่าพระบรรลุแต่คนฆ่าสัตว์บาป. อันนี้ไม่น่าจะสมเหตุผล
ถ้ากินผักกินเจจะบรรลุอันนี้ก็น่าคิด ถ้าเป็นสัตว์กินพืชก็น่าจะบรรลุเหมือนกัน(ขอโทษท่านที่นับถือเทวดาหรือเทพต่างด้วย)พระฆเนศให้ถวายอ้อยผลละไม้ เจ้าแม่กวนอิมให้กินเจ ใครเรียนวิทยาศาสตร์ตอบผมทีว่าพวกแมลง(สัตว์)ที่อยู่ในผักผลไม้จำนวนเท่าไรที่ท่านกินเข้าไป
บางบอกไม่บาปเพาะไม่ได้เจตนา(มันจริงท่านไม่ได้เจตนา)แต่มันไม่ใช่ธรรมหรือธรรมชาติ
ผมก็เลยสรุปว่าข้อ1คือ กินอะไรก็กินได้ให้ประทังชีวิตไม่เจาะจงที่จะเบียดเบียนเข้ามันก็ปกติ(ศีล)ดังพระท่านไม่เลือกมีอะไรก็ฉันอันนั้น

มีข้อความตอนหนึ่งในเรื่อง อวตารพูดว่า"ชีวิตเจ้าเพื่อต่อชีวิตของพี่น้องฆ่า". มันคือห่วงโซ่อาหารนั้นเอง
เป็นเรื่องของธรรมชาติ. ฆ่าเพื่อกินไม่ฆ่าเพาะความสะใจ
สุดท้ายสำหรับข้อ 1.พระพุทธองค์ห้ามจริงๆจังๆคือห้ามฆ่าคนเท่านั้น เพระคนมันมีความแค้นความโกรธและอาฆาต จะทำให้คนที่ทำไม่ปกติจิตวิตกได้(นั้นเป็นเหตุให้คนร้ายโดนจับด้วย)
แล้วท่านคิดกันอย่างไรช่วยกันครับเพื่อพระพุทธศาสนา

non-zaa โพสต์เมื่อ 27-11-2011 08:43

ตอบกลับ 8# camry


    อนุโมธนา สาธุ

non-zaa โพสต์เมื่อ 27-11-2011 08:43

ตอบกลับ 6# flame-rakdee001


    อนุโมธนา สาธุ:D

non-zaa โพสต์เมื่อ 27-11-2011 08:43

ตอบกลับ 4# Naiin


    อนุโมธนา สาธุ:D

camry โพสต์เมื่อ 27-11-2011 14:53

ตอบกลับ 11# non-zaa

ส่งสัยคนส่วนมากชอบของที่มันจับต้องได้มากกว่า ยิ่งถ้าเต็มไม้เต็มยิ่งชอบนะท่าน{:3_54:} {:3_45:}

camry โพสต์เมื่อ 27-11-2011 15:10

คืนนี้จะลงศีลข้อสองให้นะครับ
ข้อ1 ไม่มีเสียงตอบรับเลย{:3_44:}

pungkung โพสต์เมื่อ 28-11-2011 22:23

หลวงปู่ดูลย์ท่านกล่าวว่า....พระมักอ้างตัวเองว่ามีศีล 227 ข้อ แต่ปฏิบัติจริงๆได้กี่ข้อ...

camry โพสต์เมื่อ 28-11-2011 22:35

ข้อ2.ใม่ลักขโมยของผู้อื่น
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณผิดศีล.....?
ผมไม่ทราบนะแต่ลองใช้เหตุผลนี้พิจารณาดู. คุณรู้สึกอย่างไรตอนที่คุณขโมยของครั้งแรก
หัวใจมันเต้นเร็วตุบๆๆ หรือกังวลว่าเขาจะรู้ว่าเราเป็นคนขโมย นั้นเป็นอาการของการผิดศีลหรือผิดปกตินั้นเอง
แต่ถ้าคุณไม่รู้สึกอะไรนั้นละก็ระวังไว้ว่าคุณเริ่มไม่มีศีลแล้ว
คนที่ของเขาหายเขาก็กังวลไม่เป็นปกติทำให้คนใกล้ตัวพลอยไม่ปกติไปด้วย

ของที่ว่ารวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตด้วย.(อย่าผิดศีลข้อนี้นะครับ). ถ้าหนักก็ฮองกงเลยนะครับ
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ดูในรูปแบบกติ: เรื่องของศีล