sing โพสต์เมื่อ 21-10-2011 10:27

ผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

“แจกเป็นธรรมทาน”ผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย พระพุทธเจ้าองค์ปฐมสมเด็จองค์ปฐม
ทรงตรัสสอนไว้
มีความสำคัญดังนี้
๑.อะไรที่ทำแล้วเป็นทุกข์ จงอย่าทำ
การจะทำอะไรก็ให้ทำไปเถิด เอาความถูกต้อง
และเอาความสบายใจเป็นสำคัญ ทั้งนี้จักต้องไม่ขัดต่อศีล-สมาธิ-ปัญญาด้วย
หากทำอะไรแล้วเกิดความทุกข์ใจ อึดอัดขัดข้อง
จงอย่าทำ
เพราะนั่นจักทำให้ขาดทุน ไม่ได้ผลดีในการปฏิบัติธรรมด้วย
เรื่องของใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ระวังอย่าให้กิเลสมาฟอกจิตจนทำให้ไม่สบายใจ
๒.
จงหาความจริงที่กายเรา
และจิตเราเท่านั้น พยายามอย่าไปยุ่งกับกายผู้อื่น
และจิตผู้อื่นให้ดูร่างกายเข้าไว้
จักมีประโยชน์ที่เห็นโทษของความไม่เที่ยงของร่างกาย
ซึ่งมีความเสื่อมไปเป็นธรมดาทุกวัน ทุกๆ
ขณะจิตร่างกายก็เสื่อมลงไปทุกทีดังนั้น จงเตือนจิตตนเองเข้าไว้ว่า
จงอย่าประมาท
สิ่งใดเป็นความชั่ว เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง เลือกทำเอาแต่ความดี
ใคร่ครวญเสียก่อนจึงค่อยทำเป็นสิ่งที่ดี
๓.
การตั้งอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ
ทำใจให้รุ่งเรืองเฟื่องฟูเข้าไว้ จิตจักมีความผ่องใส
จงอย่าทำใจให้แฟบ-ท้อแท้-หดหู่-ขาดความสดชื่น และจงรักษากำลังใจให้เป็นสุขเข้าไว้ด้วยการยอมรับกฎของธรรมดา
มีอะไรเกิดขึ้นก็ให้ลงธรรมดาเสียให้หมด
๔.
บารมี ๑๐ เป็นของสำคัญ
รักษากำลังใจไว้ให้ดี อะไรจักเกิดขึ้น
ก็ให้ถือว่าเป็นกฎของกรรม
ไม่มีใครสามารถที่จักหลีกเลี่ยงกฎของกรรมไปได้
ทุกอย่างให้ลงธรรมดาให้หมดเอาจิตตั้งมั่นให้อยู่กับพระนิพพานเข้าไว้
จงอย่าประมาทในชีวิต
ทำอะไรให้คิดหน้าคิดหลังเข้าไว้บ้าง
๕.
ให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาดูร่างกายที่มันไม่เที่ยงเข้าไว้
จักเห็นความแปรปรวนของร่างกายอยู่เป็นปกติ จงอย่ากลัวความไม่เที่ยงของร่างกาย
ให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา คือความไม่เที่ยงของร่างกาย
แล้วใจจักเป็นสุขการอยู่ในโลกเราไม่สามารถจักอยู่คนเดียวได้ โลกเขาอยู่กันด้วยสังคม
ให้ระมัดระวังตัวให้ดี จักมีอะไรเกิดขึ้นก็ให้ถือว่าเป็นกฎของกรรม
อย่าไปต่อล้อต่อเถียงกับใครปล่อยวางให้จิตมีอารมณ์สบาย ๆ
นั่นแหละเป็นการวัดผลของการปฏิบัติของใจเราเอง

๖.
เห็นทุกข์ จึงจักพ้นทุกข์ได้
ไม่มีจุดใดในโลกนี้ที่มันไม่ทุกข์
ดังนั้นจงอย่ากังวลใจ
ก่อนจักหลับจงสำรวมจิตให้เห็นสภาวะของจิตตามความเป็นจริง
จักเห็นความฟุ้งซ่านของจิต-เห็นความไม่เที่ยงของจิต-เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎแก่จิต
แล้วให้เห็นหนทางแก้ไขจิต
ด้วยกรรมฐานแก้จริตด้วย
๗.
คนผิดคนถูกไม่มี มีแต่มาตามกรรม แล้วก็ไปตามกรรมเท่านั้น
คิดให้ได้-คิดให้ตก เห็นตามความเป็นจริง
จิตก็จักสบายไม่เดือดร้อนไปด้วยกรณีใดๆ ทั้งปวง
ดังนั้นอาการไม่ดิ้นรน ไม่เดือดร้อนไปกับกรณีใดๆ
ทั้งปวง จัดว่าเป็นของดีให้รักษากำลังใจจุดนี้เอาไว้ว่า
จิตเราจักไม่เดือดร้อนกับเรื่องของใครทั้งหมดจักเป็นหรือจักตาย
ก็ไม่เดือดร้อนปล่อยวางภาระที่จักต้องไปรับผิดชอบกับเรื่องคนอื่นเขาเสีย
ให้เห็นเป็นปกติธรรมของโลก
มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเองจิตที่มีความร้อนระงับได้แล้ว เป็นจิตที่เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
๘.
จงอย่างยุ่งกับปฏิปทาของผู้อื่น
ทำใจให้สบาย
อย่าไปกังวลใจกับใครทั้งปวง ปล่อยวาง
ปฏิปทาของใครก็ของมันคิดถูกก็เรื่องของเขา
คิดผิดก็เรื่องของเขา
จงรักษาใจของตนเองให้เห็นถูกโดยธรรมอยู่เสมอ
๙.โลกพร่องอยู่เป็นนิจ เพราะตกเป็นทาสของตัณหา
จงอย่าวุ่นวาย
ทำใจให้เห็นธรรมดาของโลกเข้าไว้
โลกนี้วุ่นวายอยู่เป็นนิจ
แต่จิตใจอย่าไปวุ่นวายกับโลก
ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนในโลกนี้ มีแต่วุ่นวายด้วยตัณหา ๓
ประการทั้งสิ้น
เห็นโลกจงรู้โลก ศึกษาโลก
แล้วหวนกลับมาแก้ไขที่จิตใจอย่าไปแก้โลก โลกนี้แก้ไขอะไรไม่ได้
มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง
๑๐.
ธรรมภายนอกแก้ไขไม่ได้
ให้แก้ที่ใจตนเองเป็นธรรมภายใน
ทำใจให้สบาย เหตุการณ์ใดๆ
จักเกิดก็ไม่สามารถจักทำอะไรกับจิตใจที่สบายได้
การรักษาจิตใจให้สบาย
จักต้องมีปัญญา
พิจารณาทุกอย่างตามความเป็นจริง
ใจที่ยอมรับความเป็นจริงก็มีความสบายคนที่มีความสบายใจ
จึงเป็นผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
๑๑.
อย่าเที่ยวแบกทุกข์ของผู้อื่น
เรื่องของใครก็เรื่องของใคร
จงอย่าเอาภาระของคนอื่นมาไว้ในใจ ปล่อยวางมันไปเสีย
จิตจักมีความสุขไม่วุ่นวายกับใครทั้งสิ้นค่อยๆ ทำไป
อย่าเร่งรัด
๑๒.
อย่าทำร้ายจิตตนเอง-อย่าเผาจิตตนเอง
อย่าทำกำลังใจให้อ่อนแอ
จงคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จักทำใจให้ห่อเหี่ยว-ท้อแท้ จิตไม่เป็นสุข
เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว จักต้องทำกำลังใจให้เข้มแข็ง ไม่ท้อแท้
อ่อนแอ
กระทบกับสิ่งใด
ให้รู้ว่านั่นเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องที่แก้ไขอะไรไม่ได้
ในเมื่อเหตุมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง จักต้องไปเดือดร้อนใจไปทำไมกันเล่า
ให้รู้จักใช้ปัญญาคิดตามความเป็นจริง
และต้องตัดให้รอบคอบด้วย
๑๓.
จงอย่าตีตนไปก่อนไข้
ให้มองปัญหาแต่ในปัจจุบันเท่านั้นเป็นพอเรื่องอะไรที่ยังมาไม่ถึง
ก็จงอย่าตีตนไปก่อนไข้
แม้กระนั้นก็จงอย่าประมาท
พึงเตรียมการสิ่งใดก็ให้ครุ่นคิดอย่างรอบคอบเสียก่อน
๑๔.
ทุกข์ของกายห้ามฝืน
ในเมื่อเห็นว่าร่างกายมันไปไม่ไหวก็ต้องปล่อยวางในทุกสิ่งทุกอย่าง
เอาจิตมาเกาะแต่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้นเป็นพอพิจารณาเพียงว่าจักไม่ประมาทในความตาย
เพราะคน-สัตว์ เกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น
ไม่มีใครหนีความตายไปได้
และทุกๆ
ขณะจิตสามารถตายได้เสมอ

“การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง”

BeNervious โพสต์เมื่อ 21-10-2011 11:35

"เห็นทุกข์ จึงจักพ้นทุกข์ได้
ไม่มีจุดใดในโลกนี้ที่มันไม่ทุกข์"

อนุโมทนาสาธุ ครับ

pungkung โพสต์เมื่อ 21-10-2011 12:37

สาธุกระทู้นี้ สวดยอดปายเลยคร๊าบบบบบบ{:7_132:}

water โพสต์เมื่อ 21-10-2011 12:44

สาธุครับ

TenThai โพสต์เมื่อ 11-3-2012 09:58

สาธุๆๆ

TrampeR โพสต์เมื่อ 21-3-2012 12:49

{:8_179:}
สาธุ ๆ ครับ
{:8_165:}

tak2012 โพสต์เมื่อ 4-8-2012 16:16

อนุโมทนา สาธุ
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: ผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย พระพุทธเจ้าองค์ปฐม